วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

     ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบเมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

     ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีอาการอย่างไร
    1.ปวดศีรษะ มึนงง โดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้ายทอย และมักจะเป็นในตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย
    2.เหนื่อยง่าย เนื่องจากหัวใจต้องทำงาน
    3.เลือดกำเดาออก

   ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
   1.บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วนหรือเบาหวานมาก่อน
   2.เส้นโลหิตใหญ่ตีบตัน ได้แก่ เส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องหรือเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน ถ้าเป็นระยะแรก ๆ ในคนหนุ่มสาวจะแก้ไขได้โดยการทำผ่าตัด
   3.มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต แก้ไขโดยการทำผ่าตัด
   4.โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดรวมกับการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะลดลงภายหลังคลอด
   5.โรคไต เช่น ไตอักเสบ หรือโรคไตเรื้อรังบางชนิด
   6.ใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีบางคน ความดันโลหิตจะหลับปกติเมื่อหยุดยา

   ถ้าสงสัยว่าความดันโลหิตผิดปกติควรทำอย่างไร
   1.งดอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว หมูเค็ม ฯลฯ อาหารที่รับประทานควรปรุงด้วยเกลือหรือน้ำปลายน้อยที่สุด
   2.ลดอาหารมันทุกชนิด และหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เช่น ขาหมู หมู 3ชั้น อาหารประเภททอดหรือผัดอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารควรรับประทานไข่ไม่เกิยอาทิตย์ละ3ฟองหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาย เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เกี่ยมอี๋ วุ้นเส้น เผือก มัน ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
   3.งดบุหรี่ และเหล้า
   4.ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดและวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น
   5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยการเดิน วิ่งขี่จักรยาน โดยเริ่มทีละน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 30-45 นาทีต่อวันการออกกำลังกายจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายประเภทที่ต้องออกแรงดึงดัน กลั้นหายใจหรือแบ่ง เช่น การชักเย่อ ยกน้ำหนักวิดน้ำ เป็นต้น
  6.สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากยาคุมกำเนิดควรหยุดยา ปรึกษาแพทย์และพยาบาลเพื่อหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
  7.รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำและมาตรวจตามนัด ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

      ทุกคนสามารถป้องกันการเกิดภาวะ ความดันโลหิตสูง ได้ โดยการเลือกทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยง อาหารเค็มจัด เพราะเกลือทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาหารกลุ่มไขมัน ควรให้อยู่ในระดับกลางค่อนข้างต่ำ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์และจำพวกกะทิ อีกทั้ง อาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาลขัดขาวทุกชนิด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวและระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น